How-to เปลี่ยนร้านขายยาขนาดเล็กให้ปัง ด้วยเทคนิคเฉพาะจาก ProCabin

How-to เปลี่ยนร้านขายยาขนาดเล็กให้ปัง ด้วยเทคนิคเฉพาะจาก ProCabin

สำหรับเจ้าของร้านขายยาที่มีพื้นที่จำกัด หลายคนอาจกังวลว่าจะทำอย่างไรให้ร้านดูน่าเชื่อถือ น่าเข้าใช้บริการ และยังคงมาตรฐาน GPP (Good Pharmacy Practice) ได้ครบถ้วน แต่ในความเป็นจริง “พื้นที่เล็ก” อาจเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างร้านขายยาที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น และใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าไม่แพ้ร้านขนาดใหญ่

ในบทความนี้ ProCabin จะพาคุณเจาะลึก เทคนิคการออกแบบและเลือกเฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึง การสร้างบรรยากาศ ให้ร้านขายยาขนาดเล็กดูโปร่ง โล่ง พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า

GPP Checklist: สิ่งที่ร้านขายยาขนาดเล็กต้องไม่พลาด

เพื่อย้ำว่าร้านขายยาของคุณต้องยืนพื้นอยู่บนมาตรฐาน GPP นี่คือ Checklist ที่คุณควรตรวจสอบ

ความสำคัญของพื้นที่สำหรับเภสัชกรและลูกค้า

  • การให้คำปรึกษาที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว: ลูกค้าที่มาใช้บริการร้านขายยามักมีคำถามเกี่ยวกับการใช้ยา อาการเจ็บป่วย หรือข้อมูลสุขภาพอื่น ๆ พื้นที่ที่ออกแบบให้เหมาะสมช่วยให้เภสัชกรสามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและลูกค้ารู้สึกสบายใจ
  • สร้างความน่าเชื่อถือและมืออาชีพ: การมีพื้นที่ที่จัดสรรมาอย่างดี สะท้อนถึงความใส่ใจในรายละเอียดและความเป็นมืออาชีพของร้านขายยา ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้อย่างมาก

ตามหลัก GPP มีข้อกำหนดพื้นที่ที่ร้านขายยา ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้:

1.พื้นที่ให้บริการโดยเภสัชกร (Pharmacist-service area) และ พื้นที่ให้คำปรึกษา (Counseling area)

  • ขนาดรวมต้องไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร
  • ด้านที่สั้นที่สุดต้องไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อรองรับการใช้งานที่สะดวกสบายและเป็นมาตรฐาน

2.การแบ่งประเภทพื้นที่ในร้าน

  • ต้องแยกพื้นที่ขายและพื้นที่เก็บยาให้ชัดเจน
  • พื้นที่สำหรับจัดเก็บยาควบคุมพิเศษ (เช่น ยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์) ต้องมีความปลอดภัยและล็อกได้

3. อุปกรณ์และป้ายแสดง

  • มีป้ายระบุเวลาปฏิบัติการของเภสัชกร
  • มีป้ายแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ เช่น ป้ายแจ้งการแพ้ยา การตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  • มีม่านหรือวิธีปิดกั้นที่ชัดเจนสำหรับกรณีที่เภสัชกรไม่อยู่ประจำร้าน

เมื่อคุณเข้าใจความสำคัญของการจัดสรรพื้นที่ในร้านขายยาตามหลัก GPP แล้ว มาดูกันว่า ProCabin ใช้วิธีไหนในการทำให้พื้นที่ขนาดเล็กดูโปร่ง โล่ง และใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

ออกแบบร้านและเลือกเฟอร์นิเจอร์อย่างมืออาชีพ

1. จัดพื้นที่ใช้งาน

  • ใช้เฟอร์นิเจอร์สั่งทำ (Built-in / Fit-In) เช่น ตู้ยาแบบสูงชนเพดาน ช่วยใช้ประโยชน์จากพื้นที่แนวตั้ง หรือเคาน์เตอร์ที่มาพร้อมชั้นลิ้นชักและชั้นวางในตัว เพื่อลด “พื้นที่ว่างเปล่า” และเพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • วางผังร้านให้ลูกค้าเดินสะดวก (Flow-Friendly) ด้วยการจัดตู้และชั้นวางยาให้เกิดเส้นทางการเดินที่ไม่อับหรือคับแคบ วางเคาน์เตอร์จ่ายยาไว้ด้านใน เพื่อให้ลูกค้าเดินผ่านสินค้าก่อน และจัดพื้นที่ให้คำปรึกษาในจุดที่เป็นส่วนตัว ไม่พลุกพล่าน

2. เลือกเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะสม

  • เฟอร์นิเจอร์ Multi-functional เช่น เคาน์เตอร์จ่ายยาที่มีช่องเก็บของ หรือชั้นวางสินค้าด้านหน้า หรือตู้ยาที่ปรับใช้เป็นชั้นโชว์สินค้าในตัว เพื่อประหยัดพื้นที่
  • ใช้โทนสีและวัสดุช่วยให้ร้านดูกว้าง เช่น เลือกสีอ่อน เช่น ขาว ไข่มุก หรือครีม เพื่อสร้างบรรยากาศโปร่งโล่ง หรือใช้วัสดุหรือผิวมันเงา (Glossy) หรือกระจกบางจุด เพื่อเพิ่มมิติ หรือตัดด้วยลายไม้อ่อน หรือแถบสีที่ดูเป็นกันเองเพื่อความอบอุ่น
  • จัดเก็บยาอย่างชาญฉลาด ด้วยการใช้หลัก FIFO (First In, First Out) เพื่อหมุนเวียนยาอย่างมีประสิทธิภาพ และติดฉลากชั้นวางหรือแบ่งโซนยา (ยาเย็น, ยาสมุนไพร ฯลฯ) ให้ชัดเจน

สร้างบรรยากาศให้ร้านขายยาโดดเด่น

แม้จะเป็นร้านขนาดเล็ก แต่การใช้เทคนิคด้านแสง สีอย่างลงตัว จะทำให้บรรยากาศร้านดูเป็นมืออาชีพและน่าใช้บริการ

3. ใช้แสงธรรมชาติและไฟ LED อย่างเหมาะสม

3.1 เปิดรับแสงธรรมชาติอย่างพอเหมาะ

การวางผังและตำแหน่งกระจก
พยายามออกแบบให้หน้าร้านมีพื้นที่กระจกใสหรือบานหน้าต่างเพื่อรับแสงในช่วงเช้าหรือบ่ายแก่ ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่แสงไม่แรงเกินไป
– เลือกใช้กระจกที่มีค่าแสงผ่าน (Visible Light Transmission) สูง แต่ควรมีคุณสมบัติป้องกัน UV เพื่อถนอมสินค้าบางประเภท เช่น ยาที่ไวต่อแสง
– หากแสงแดดแรงเกิน ควรติดฟิล์มกรองแสงหรือม่านบาง ๆ เพื่อป้องกันความร้อนและการเสื่อมคุณภาพของยา

ลดค่าไฟและสร้างบรรยากาศเชิญชวน
– แสงธรรมชาติทำให้ร้านดูโปร่ง โล่ง ลูกค้ามองเห็นสินค้าจากภายนอกร้านได้ชัดเจนและดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการ
– ลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน และทำให้ร้านขายยาแลดูเป็นมิตรและเข้าถึงง่าย

3.2 เลือกใช้ไฟ LED เพื่อตอบโจทย์หลายด้าน

โทนสีไฟ (Color Temperature)
– เลือกใช้ไฟ LED แบบ Daylight (ประมาณ 5,000K – 6,500K) เพื่อให้บรรยากาศร้านดูสว่าง สะอาดตา และใกล้เคียงแสงธรรมชาติมากที่สุด
– หากต้องการความอบอุ่น อาจใช้ Warm White (ประมาณ 3,000K) เฉพาะบางมุมหรือส่วนตกแต่ง เพื่อสร้างจุดเน้นที่ดูผ่อนคลายขึ้น

การจัดวางโคมไฟและตำแหน่งไฟเสริม
– ติดไฟส่องสินค้า (Spotlight หรือ Track Light) เหนือชั้นโชว์ยาและสินค้าแนะนำ เพื่อดึงดูดความสนใจ
– เพิ่มเส้นไฟ LED ซ่อนตามขอบเพดาน หรือตามชั้นวางสินค้า (LED Strip) เพื่อสร้างบรรยากาศโมเดิร์น และยังช่วยให้เห็นสินค้าได้ชัดเจนขึ้น

ความประหยัดและอายุการใช้งาน
– LED ประหยัดพลังงานกว่า และปล่อยความร้อนน้อยกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดไส้
– ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว ทั้งค่าไฟและค่าดูแลบำรุงรักษา

4. เลือกโทนสีสอดคล้องกับภาพลักษณ์ร้าน

4.1 พิจารณาเอกลักษณ์ของแบรนด์

สีประจำแบรนด์หรือโลโก้
– หากร้านขายยาของคุณมีโลโก้หรือโทนสีประจำแบรนด์ ให้พยายามใช้สีหลักเหล่านั้นสอดแทรกในผนัง เคาน์เตอร์ หรือองค์ประกอบตกแต่ง เช่น เส้นคาดหรือแถบสี เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย

สีที่สื่อถึงความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพ
– โทนสีฟ้า เขียวมิ้นต์ หรือสีขาวสะอาด ช่วยบ่งบอกถึงความเป็นสุขภาพ ความไว้วางใจ และความผ่อนคลาย ซึ่งเหมาะกับร้านขายยา

สีที่ถูกโฉลกหรือสีที่เป็นมลคลสำหรับคุณ
‘สีของร้าน’ ที่ถูกโฉลกกับคุณ อาจเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านขายยา เพราะในธุรกิจร้านขายยา ไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่ “ความเชื่อ ความสบายใจ และความมั่นใจ” ของคุณคือสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน และ ProCabin ช่วยคุณออกแบบร้านขายยาด้วยที่สีที่เป็นมงคลกับคุณได้

4.2 เลือกใช้คู่สีให้เหมาะกับบรรยากาศ

สีพื้นหลัก (Main Tone) + สีตัด (Accent Color)
– ถ้าใช้โทนขาว/ไม้ เป็นสีหลัก ควรมีสีตัดเพื่อเพิ่มความโดดเด่น หรือแบ่งโซน เช่น สีเขียวมิ้นต์ตัดกับขาว จะให้ความรู้สึกสดชื่น
– สามารถใช้สีเทาอ่อนหรือครีม เป็นสีพื้นหลัง และเพิ่มโลโก้สีสันสดใส หรือโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์สุขภาพ ที่ดูเข้ากัน

เทคนิคไล่เฉด (Gradient) หรือคุมโทน (Monotone)
– เลือกใช้สีเฉดใกล้เคียงกัน เช่น เขียวมิ้นต์กับเขียวพาสเทล เพื่อร้านดูสุภาพและกลมกลืน
– ถ้าต้องการความน่าสนใจ อาจเลือกสีขาว + ไม้อ่อน + สีตัดอีกสีหนึ่งเป็นสไตล์ “3 Tone Combination”

4.3 จัดสรรผนัง พื้น และเพดานให้สอดคล้องกัน

ผนัง
– ใช้สีอ่อนเป็นพื้น ช่วยให้ร้านดูกว้างขึ้น เช่น ขาว ไข่มุก หรือครีม
– อาจเพิ่มลายไม้หรือผนังวอลเปเปอร์ลวดลายเล็ก ๆ ให้ดูมีชีวิตชีวาแต่ไม่รบกวนสายตา

พื้น
– เลือกวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย ทนทาน เช่น กระเบื้องลายหินอ่อนสีอ่อน หรือพื้นลามิเนตโทนไม้

เพดาน
– ติดหลุมฝ้าหรือไฟซ่อน (Indirect Light) ช่วยให้ร้านดูลึกและโปร่ง
– ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีเข้ม ถ้าพื้นที่ต่ำหรือเพดานไม่สูงพอ เพราะจะทำให้ร้านดูแคบ

ตัวอย่างการออกแบบร้านขายยาขนาดเล็กโดย ProCabin

Case 1: ร้านขนาด 3.6 x 9 เมตร (1 คูหาแนวลึก) – จ.ราชบุรี

โจทย์: พื้นที่แนวยาวและค่อนข้างแคบ เสี่ยงดูอึดอัด
การออกแบบ:

  • ใช้โทนสีขาวตัดกับลายไม้อ่อน เพิ่มความอบอุ่นและสะอาดตา
  • ติดตั้งตู้ยาแนวยาวชิดผนังสองด้าน เหลือพื้นที่เดินกลางร้าน
  • ใช้ตู้สูงชนเพดานเพิ่มพื้นที่จัดเก็บแนวตั้ง

Key Takeaway: ขนาดลึก-แคบไม่ใช่ปัญหา ถ้าเลือกจัดวางตู้เข้าผนังและใช้สีอ่อน

Case 2: ร้านขนาด 3 x 7.4 เมตร (1 คูหา) – สุขุมวิท 5 กรุงเทพฯ

โจทย์: พื้นที่เล็ก ต้องการต่อเติมจากร้านเดิม เพิ่มความโดดเด่นและฟังก์ชันครบ
การออกแบบ:

  • เลือกคู่สีขาว + ไม้อ่อน ทำให้ร้านดูสว่าง โปร่ง
  • เคาน์เตอร์จ่ายยาประหยัดพื้นที่ แต่มีชั้นวางสินค้าโปรโมชั่นด้านหน้า
  • ติดตั้งชั้น Fit-In ให้เข้ากับผนัง

Key Takeaway: จัดวางชั้นบิลท์อิน + เฟอร์นิเจอร์มัลติฟังก์ชัน = ประหยัดพื้นที่และดูทันสมัย

Case 3: ร้านขนาด 2.7 x 8 เมตร (1 คูหา) – จ.กระบี่

โจทย์: ต้องการทำให้ร้านสามารถดูสว่าง ดูโล่ง โปร่ง สบายตาในพื้นที่แคบ
การออกแบบ:

  • ตู้สีขาวตัดกับสีไม้อ่อนสุดมินิมอล เหมาะกับร้านทุกขนาดต่อให้พื้นที่แคบก็ทำให้ร้านสามารถดูสว่าง ดูโล่ง โปร่ง สบายตา ได้
  • จุดชำระเงินเพิ่มชั้นวางสินค้า เพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากสินค้าที่ขายง่าย
  • ชั้นวางสินค้าก่อนถึงจุดชำระเงินใช้เป็นตู้ตู้ยาแบบสูงชนเพดาน ช่วยใช้ประโยชน์จากพื้นที่แนวตั้ง

Key Takeaway: ยิ่งพื้นที่เล็ก ยิ่งต้องทำให้ไม่อึดอัด + ใช้ประโยชน์จากตู้ยาและชั้นวางสินค้าให้เต็มที่

สรุป: พื้นที่เล็ก ก็สร้างร้านขายยาที่ตอบโจทย์ได้

การมีพื้นที่ขนาดเล็กไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่คือโอกาสให้คุณได้โชว์ความคิดสร้างสรรค์ และใส่ใจในรายละเอียดทุกจุด ตั้งแต่ การจัดวางพื้นที่ (Flow), เลือกเฟอร์นิเจอร์ Built-in ไปจนถึง การใช้สี แสง และวัสดุตกแต่ง เพื่อสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นมืออาชีพ ตอบโจทย์ทั้งเภสัชกรและลูกค้า

 

เพราะทุกตารางเมตรคือโอกาสสร้างรายได้ อย่าปล่อยให้พื้นที่ของคุณถูกใช้ไปอย่างไร้ประโยชน์

สนใจให้ ProCabin ออกแบบและผลิตเฟอร์นิเจอร์ร้านขายยาขนาดเล็ก ติดต่อเราได้ที่ Line: @procabin เราพร้อมให้คำปรึกษาและปรับโซลูชันให้เหมาะกับทุกพื้นที่ ไม่ว่าร้านขายยาของคุณจะใหญ่หรือเล็กค่ะ

บทความอื่นๆ

6 ข้อผิดพลาดของคนที่อยากเปิดร้านขายยา…แต่คุณไม่จำเป็นต้องพลาด

6 ข้อผิดพลาดของคนที่อยากเปิดร้านขายยา…แต่คุณไม่จำเป็นต้องพลาด

ในบทความนี้ ProCabin จะพาคุณไปสำรวจ “6 ข้อผิดพลาดของคนที่อยากเปิดร้านขายยา” พร้อมแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงที่ได้ผลจริง เพราะเราเชื่อว่า การมีข้อมูลที่ถูกต้องและการวางแผนที่ดี คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจร้านขายยา
แนวโน้มธุรกิจร้านขายยา 2568 ใครอยากเปิดร้านขายยาต้องรู้

แนวโน้มธุรกิจร้านขายยา 2568 ใครอยากเปิดร้านขายยาต้องรู้

ProCabin จะพาทุกท่านสำรวจแนวโน้มธุรกิจร้านขายยา 2568 และวิธีการปรับปรุงพื้นที่ร้านขายยาเพื่อรองรับการเติบโตที่กำลังจะมาถึง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
เปลี่ยนร้านขายยาของคุณให้โดดเด่น ด้วยเฟอร์นิเจอร์ Fit-in จาก ProCabin

เปลี่ยนร้านขายยาของคุณให้โดดเด่น ด้วยเฟอร์นิเจอร์ Fit-in จาก ProCabin

ProCabin พาไปรู้จักเฟอร์นิเจอร์ Fit-in สำหรับร้านขายยา พร้อมเหตุผลของการใช้เฟอร์นิเจอร์ Fit-in เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการเปิดร้านแรกหรือรีโนเวทร้านขายยาของคุณ
How-To เลือกวัสดุสำหรับเฟอร์นิเจอร์ร้านขายยาให้คุ้มค่าที่สุด

How-To เลือกวัสดุสำหรับเฟอร์นิเจอร์ร้านขายยาให้คุ้มค่าที่สุด

บทความนี้ ProCabin จะช่วยให้เภสัชกรและนักลงทุนที่ต้องการเปิดร้านขายยา เข้าใจว่าการเลือกวัสดุที่เหมาะสมมีผลต่อร้านขายยาอย่างไรบ้าง ได้รู้ถึงข้อดีและข้อเสียของวัสดุต่าง ๆ ที่เหมาะสำหรับเฟอร์นิเจอร์ในร้านขายยา เพื่อให้การลงทุนของคุณคุ้มค่ามากที่สุด และหลีกเลี่ยงปัญหาจากการเลือกวัสดุที่ไม่ถูกต้องค่ะ
ไขคำตอบที่นี่! ร้านขายยาส่วนใหญ่ทำไมมีขนาด 1 คูหา?

ไขคำตอบที่นี่! ร้านขายยาส่วนใหญ่ทำไมมีขนาด 1 คูหา?

เคยสงสัยไหมว่าทำไมร้านขายยาส่วนใหญ่ถึงเลือกขนาด 1 คูหา? ขนาดที่พอเหมาะ ต้นทุนต่ำ และทำเลที่ใช่ ช่วยให้การจัดการร้านเป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังสอดคล้องกับข้อกำหนด GPP ที่สำคัญอีกด้วย…
เทคนิคจัดร้านขายยา เพิ่มยอดขายและประสบการณ์ลูกค้า

เทคนิคจัดร้านขายยา เพิ่มยอดขายและประสบการณ์ลูกค้า

การจัดร้านขายยาทั้งช่วยให้ร้านของคุณมีบรรยากาศที่เชิญชวน เพิ่มยอดขายและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า บทความนี้ ProCabin มาแนะนำเทคนิคในการจัดร้านขายยาค่ะ
แชร์ไอเดียตกแต่งร้านขายยา: สไตล์ที่ทำให้ร้านขายยาของคุณโดดเด่นกับ ProCabin (Part 1)

แชร์ไอเดียตกแต่งร้านขายยา: สไตล์ที่ทำให้ร้านขายยาของคุณโดดเด่นกับ ProCabin (Part 1)

แชร์ไอเดียตกแต่งร้านขายยาหลากหลายสไตล์จากผลงานจริงและไอเดียจาก ProCabin ที่จะช่วยให้ร้านขายยาหรือร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ของคุณโดดเด่น น่าเข้าใช้บริการมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการเปิดร้านขายยา 2567: เปิดร้านขายยาต้องทำอย่างไรบ้าง?

ขั้นตอนการเปิดร้านขายยา 2567: เปิดร้านขายยาต้องทำอย่างไรบ้าง?

การเปิดร้านขายยาในปี 2567 ต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากการแข่งขันในตลาดสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเปิดร้านขายยาต้องทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ นี่คือขั้นตอนที่สำคัญที่คุณต้องรู้ค่ะ
10 ข้อดีของบริการออกแบบร้านขายยาที่เจ้าของร้านควรใช้

10 ข้อดีของบริการออกแบบร้านขายยาที่เจ้าของร้านควรใช้

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมร้านขายยาเข้าสู่การแข่งขันที่ดุเดือด เนื่องจากตลาดสุขภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้ว่ามีร้านขายยาเพิ่มรอบ ๆ ชุมชนหรือแหล่งเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทุกวัน
5 เคล็ดลับการออกแบบร้านขายยาให้น่าเชื่อถือ และดึงดูดลูกค้า

5 เคล็ดลับการออกแบบร้านขายยาให้น่าเชื่อถือ และดึงดูดลูกค้า

ทำไมถึงต้องออกแบบร้านขายยาให้น่าเชื่อถือ และดึงดูดลูกค้า? เพราะในปัจจุบันธุรกิจร้านขายยามีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงในตลาด คุณอาจจะสังเกตได้ว่าจะเห็นร้านขายยาเปิดใหม่แทบทุกวัน